18/10/2022
แนะนำการใช้งานเกี่ยวกับการชาร์จแบตเตอรี่รถไฟฟ้าสามล้ออย่างถูกวิธี และการบำรุงดูแลรักษาเบื้องต้น เพื่อป้องกันไม่ให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพไวกว่าที่ควรเป็น
1. คุณสมบัติของแบตเตอรี่รถไฟฟ้าสามล้อ (ตะกั่ว-น้ำกรด)
2. ขั้นตอนการชาร์จแบตเตอรี่รถไฟฟ้าสามล้อ
3. ข้อควรระวังและคำแนะนำ
แบตเตอรี่ตะกั่ว-น้ำกรด เป็นแบตเตอรี่มาตรฐานของรถสามล้อไฟฟ้าในไทยเกือบ 95% ใช้แบบนี้หมด เนื่องจากเป็นแบตฯ ที่มีราคาถูก หาได้ง่ายตามท้องตลาดมีใช้กันทั่วไปในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น แบตเตอรี่รถยนต์ แบตเตอรี่สำรอง UPS
ข้อดี ของแบตเตอรี่ตะกั่ว-น้ำกรด
1. ราคาถูก หาง่าย มีหลายเกรดให้เลือก
2. เกิดความร้อนน้อยมาก(ความร้อนเป็นตัวการสำคัญทำให้แบตเตอรี่เสื่อมไว)
3. ทนทานต่อการสั่นสะเทือนและแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี
ข้อเสีย ของแบตเตอรี่ตะกั่ว-น้ำกรด
1. ชาร์จไฟได้ช้า จากแบตฯ 0% ไปถึง 100% ใช้เวลา 7-8 ชม.
2. มีน้ำหนักมากกว่าแบตลิเธียมหลายเท่า
1. ตรวจสอบ Adapter (ที่ชาร์จไฟ) ด้วยสายตาก่อนว่ามีการแตก หักหรือเปียกน้ำไหม ถ้ามีอาการเหล่านี้ไม่ควรนำมาใช้งานต่อครับ
2. เสียบปลั๊กตัวผู้กับปลั๊กไฟบ้านก่อน เพื่อเป็นการเปิดระบบการทำงานของตัว Adapter และสัญญาณไฟจะต้องขึ้นเป็นสีเขียว ถ้าขึ้นเป็นไฟสีแดงหรือไฟกระพริบ แสดงว่า Adapter มีปัญหาครับ
3. นำเอาสายไฟอีกข้างของ Adapter มาเสียบที่เต้ารับบนตัวรถสามล้อไฟฟ้า สัญญาณไฟเปลี่ยนเป็นสีแดง หมายความว่า ระบบการชาร์จไฟกำลังทำงาน
4. ระยะเวลาการชาร์จไฟประมาณ 6-8 ชั่วโมงต่อการชาร์จ 1 ครั้ง เพราะจะทำให้ได้ปริมาณไฟฟ้าเพียงพอต่อการใช้งาน
5. เมื่อแบตเตอรี่ชาร์จไฟเต็มแล้ว สัญญาณไฟที่ Adapter จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว จากนั้นให้ดึงปลั๊กที่ตัวรถออกก่อนจากนั้นจึงค่อยดึงปลั๊กไฟบ้านออกก่อน
- ไม่ปลอยให้แบตเตอรี่เหลือต่ำกว่า 30% ยิ่งหากปล่อยให้แบตเตอรี่หมดอยู่บ่อยๆ จะทำให้แบตเสื่อมสภาพไวมากยิ่งขึ้น
- เมื่อแบตเตอรี่รถไฟฟ้าสามล้อเต็มสัญญาณไฟที่ Adapter ขึ้นเป็นสีเขียวก็ควรจะถอดปลั๊กออกทันที ไม่ควรเสียบไว้ข้ามคืน (อาจจะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมไวขึ้นได้ กรณี Adapter เสียไม่ตัดไฟ)
- ไม่ควรชาร์จแบตขณะที่มีฝนตกฟ้าร้องฟ้าคะนอง เพราะอาจจะทำให้เกิดไฟเกินหรือไฟตก ซึ่งอาจทำให้ระบบไฟทั้งหมดรวมถึงแบตเตอรี่เสียหายได้